Power Supply
เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง
มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้)
ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ
12 โวลต์
เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย
android แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น
โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล
เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์
จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยGoogle และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ
ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางGoogleได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา
และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น
Communication การสื่อสาร
หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา
โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
wireless แลนไร้สาย (อังกฤษ: wireless
LAN) หรือ WLAN คือ
เทคโนโลยีที่เชื่อมอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปเข้าด้วยกัน
โดยใช้วิธีการกระจายแบบไร้สาย (ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้คลื่นวิทยุแบบกระจายความถี่ หรือ OFDM(อังกฤษ: Orthogonal
Frequency Division Multiplex)) และโดยปกติแล้ว
จะมีการเชื่อมต่อผ่านทาง Access Point (AP) เพื่อเข้าไปยังโลกอินเทอร์เน็ต
information เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล
และมีการจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามาระนำไปใช้งานได้ตามที่ต้องการ
เช่นหากว่าเรามีข้อมูลตัวเลขต่างๆ
และเมื่อนำตัวเลขเหล่านั้นไปทำการประมวลผลด้วยการ บวก ลบ คูณ หาร แล้ว
ออกมาเป็นข้อสรุปของจำนวนต่างๆ นั้นก็ถือเป็นสารสรเทศด้วยเช่นกัน
หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศนั้น คือข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองแล้วก็เป็นได้
Switch (สวิตซ์) คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ใสเลเยอร์ที่ 2 Switch บางทีก็เรียกว่า Switching Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Switch เพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง
computer คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้
Main board เมนบอร์ด คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนมาก
ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญหลากหลายชนิด
เช่น ซีพียู หน่วยความจำ กร าฟิกการ์ด ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
Bluetooth บลูทูธ คือ
ระบบการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กโทนิคแบบสองทาง ที่ใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุระยะสั้น
(Short-Range Radio Links) เป็น สื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ต่างชนิดกัน
โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ
และไม่จำเป็นต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด
Aircard แอร์การ์ด คือ
อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง PC และ Notebook เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่านโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS และ EDGE ในปัจจุบัน ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนขอแค่ให้มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็สามารถใช้งานแอร์การ์ดเพื่อเข้าอินเตอร์เน็ตได้ทันที
Data ข้อมูล หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล
สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ
ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
IE วินโดวส์
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Windows Internet Explorer) โดยมีชื่อย่อว่า ไออี (IE)
เป็นเว็บเบราว์เซอร์จากไมโครซอฟท์และเป็นซอฟต์แวร์ที่แถมมากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์
Router คือ
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route
ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router
ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน
ซึ่ง Router นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า
Internetwork Operating System (IOS) และตัว Router จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี
4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว
Monitor เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ
เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic)
โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80
ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก
จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480
pixel
byte (ไบต์)
เป็นหน่วยของข้อมูลที่เป็นเลขฐานสอง 8 หลัก โดย byte เป็นหน่วยที่คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้แสดงตัวอักษร ตัวเลข หรือ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ byte สามารถเก็บข้อความของบิตที่ต้องการใช้ในหน่วยที่ใหญ่ตามวัตถุประสงค์ของ
โปรแกรมประยุกต์ (เช่นกลุ่มของบิตที่สร้างเป็นภาพสำหรับโปรแกรม
เพื่อแสดงภาพหรือข้อความของบิต ซึ่งเป็นภาษาเครื่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
(operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า
Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User
Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด
Satellite คือ ดาวเทียม อุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วปล่อยไว้ในวงโคจรรอบโลก
เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ถ่ายภาพ ตรวจอากาศ สื่อสาร
และการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ดาวเทียมถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยติดตั้งบนจรวดหรือยานขนส่งอวกาศ ดาวเทียมดวงแรกของโลกเป็นของสหภาพโซเวียตชื่อ
สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2500 (ภาพที่ 1) นับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ
Application เป็นคำย่อของ application program หรือโปรแกรมประยุกต์
ซึ่งโปรแกรมประยุกต์
เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานด้วยหน้าที่ที่เจาะจงโดยตรงสำหรับผู้
ใช้ หรือในบางกรณี สำหรับโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ตัวอย่าง ของโปรแกรมประยุกต์ เช่น
โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing เช่น MS Word) ฐานข้อมูล web browser เป็นต้น
Gateway หมายถึง ประตูสัญญาณที่ต่อเชื่อมไว้ระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่างตระกูลกัน
(ตระกูลพีซี, ตระกูลแมคอินทอช ฯ)
ในกรณีที่ต้องการแยกเครือข่ายทั้งสองออกจากกัน ก็
เพียงแต่ปิดสวิตช์ตัวประตูสัญญาณนี้เสียเท่านั้นเอง
register หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลที่อยู่ในตัวประมวลผลจุลภาค
(microprocessor) มีขนาดเล็กนิดเดียว
ความจริงก็คือแถวของบิต ที่จัดเอาไว้จำนวนหนึ่งซึ่งอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า
ฟลิปฟลอป (flipflop) จัดเอาไว้เพื่อการเก็บข้อมูล
และดึงข้อมูลนั้น ๆ ไปใช้ประมวลผลต่อไป (ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ไม่จำเป็นต้องรู้จักอุปกรณ์ส่วนนี้เลย)
GPS ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System คือระบบนำทางโดยอาศัยการระบุพิกัดตำแหน่งต่างๆ
ที่อยู่บนโลกจากสัญญาณดาวเทียม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากระบบ Global Navigation Satellite System หรือดาวเทียมสำรวจซึ่งโคจรอยู่รอบโลก
Memory (หน่วยความจำ) เป็นอุปกรณ์อีเลคโทรนิคส์
ที่ใช้เก็บคำสั่ง และข้อมูลที่ไมโครเซสเซอร์ สามารถเข้าถึงได้เร็ว
เมื่อคอมพิวเตอร์ อยู่ในการทำงานปกติ หน่วยความจำจะเก็บส่วนใหญ่ของระบบปฏิบัติการ
และโปรแกรมประยุกต์บางส่วนหรือทั้งหมด และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน
หน่วยความจำมักจะใช้ ในความหมายเดียวกับหน่วยความจำชั่วคราว หน่วยความจำชนิดนี้
ตั้งอยู่บนไมโครซิปหนึ่ง หรือมากกว่า ใกล้กับไมโครโพรเซสเซอร์ในคอมพิวเตอร์
Scanner คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ
จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ,
ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
IOS ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS)
มีชื่อเดิมว่า iPhone OS เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวของ
iPhone เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550
ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน
(Smartphone) ของแอปเปิล
โดยเริ่มต้นพัฒนาสำหรับใช้ในโทรศัพท์ iPhone และได้พัฒนาต่อใช้สำหรับ
iPot Touch และiPad โดยระบบปฏิบัติการนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังแอ็ปสตอร์สำหรับการเข้าถึงถึงแอพพลิเคชั่น(Application)
Linux ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน
สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking)
มีระบบ X วินโดวส์
ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ
(มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์)
Output Device เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์
ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะมีทั้งข้อมูลตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง
เป็นต้น
Hard disk อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งเคลือบด้วยสารแม่เหล็กที่ผิวทั้งสองด้านหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน
มีหัวอ่านข้อมูลติดอยู่บนแขนที่เลื่อนเข้าออกได้
โดยอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ถูกบรรจุในกล่องที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันฝุ่นและการกระทบกระเทือน
สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก
notebook เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือขนาดพกพา
หรือในบางครั้งเรียกว่าขนาดสมุดโน้ต เพราะสามารถพกพาติดตัวไปที่ต่าง ๆ
ได้สะดวก ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรี
Graphic Cardคือ
แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor) ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว
อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก
และอีกระบบหนึ่งคือ PCI
Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
RAM เป็นหน่วยความจำหลักประเภทไม่ถาวร คือ
สามารถบันทึกคำสั่งและข้อมูลไปเก็บไว้ในแรมได้ แต่เมื่อใดที่ไฟฟ้าดับหรือกระพริบ
คำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปในทันที
Rom เป็นหน่วยความจำถาวร
ที่เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ได้แม้ว่าจะไม่มีประจุไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงก็ตาม
จุดประสงค์หลักๆของรอมคือการเก็บข้อมูลสำคัญๆไว้
เพื่อป้องกันการถูกเล่นงานจากไวรัส
Buss คือ
ใช้สำหรับการขนส่งที่ต้องการขนส่งจากจุดหนึ่ง สิ่งที่ขนส่ง คือ (สัญญาณไฟฟ้า) หรือ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อมูล ดังนั้น bus ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็คือ
เส้นโลหะ ตัวนำสัญญาณไฟฟ้ามักเป็น ทองแดง ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Main
board เป็นต้น แต่ bus มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมีเรียกว่า Bus
System
Media หมายถึง
วัสดุใดก็ตามที่ใช้เป็นที่บันทึกข้อมูลลงไปเก็บแล้ว คอมพิวเตอร์ใช้เป็นสื่อได้
อาจเป็นสื่อแม่เหล็ก สื่อแสง หรือสื่อการพิมพ์ เป็นต้นว่า จานแม่เหล็ก จานแสง
(ถ้าเป็นรูปเอกพจน์ ใช้คำว่า medium)
Trinet เป็น 3
โครงข่ายอัจฉริยะใหม่จากดีแทค ที่ให้บริการบน 3 คลื่นความถี่ คือ คลื่นความถี่ 1800MHz + 850MHz + 2100MHz
Software (ซอฟต์แวร์)
เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง
เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้
Protocolโปรโตคอล หมาย ถึง
ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์
ซึ่งมีหลายชนิดคล้ายกับภาษามนุษย์ที่มีทั้ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามือ เป็นต้น
โดยมนุษย์จะสื่อสารกันให้เกิดความเช้าใจได้
Hardware หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ
คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ
ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input
Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary
Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
System Software ซอฟต์แวร์
หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้
ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน
Minicomputer เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกึ่งกลาง
ระหว่างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและเมนเฟรม ( แต่คำนี้ไม่มีการใช้แล้ว) โดยทั่วไป minicomputer
(มินิคอมพิวเตอร์) มักจะเป็นคอมพิวเตอร์เดี่ยว (ระบบคอมพิวเตอร์กับ
เทอร์มินอลและอุปกรณ์อื่น) ขายให้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
สำหรับโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจโดยทั่วไป และองค์กรขนาดใหญ่ สำหรับการทำงานระดับแผนก
ในช่วงใกล้ ๆนี้ มินิคอมพิวเตอร์ได้ปรับเป็น "mid-range-server"
(เครื่องแม่ข่ายขนาดกลาง) และส่วนเป็นของเครือข่าย เช่น IBM
AS / 400 e
Modems เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital
signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog
signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น